จิมคาน่า (Gymkhana) การเช็คสภาพรถที่แสนเร้าใจ

ในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสำหรับรถแข่งมากมาย ที่มุ่งเน้นไปที่ความเร็วของรถยนต์ และความแรงของเครื่องยนต์ แต่จิมคาน่ากลับเป็นกีฬามอเตอร์สปอร์ตที่แตกต่างออกไป เป็นการแข่งที่ใช้ความเร็วในการแข่งระดับต่ำถึงปานกลางในการแข่งขันเท่านั้น ไม่เน้นความเร็ว ไม่เน้นความแรงของเครื่องยนต์ เน้นแต่ทักษะเทคนิคการเข้าทำ ความสามารถในแต่ละจุด ที่ผู้ขับสามารถใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ และยังเป็นพื้นฐานการฝึกที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักแข่งในอนาคต

จิมคาน่า (Gymkhana) เป็นการแข่งที่เรียกได้ว่า มีการใช้ต้นทุนจัดการแข่งขัน และทำทีมแข่งที่ต่ำที่สุดในการแข่งขันรถยนต์ เพราะแค่เริ่มต้นในการเลือกรถก็ไม่ต้องใช้อะไรมาก ขอเป็นเพียงรถยนต์ที่สามารถขับได้ ก็สามารเข้าแข่งจิมคาน่าได้ทันที รถบ้านทั่วไป รถที่เอาไว้ขับไปทำงานหรือไปซื้อกับข้าว ก็สามารถนำมาลงแข่งได้ โดยไม่ต้องตกแต่งเพิ่มเติมเรื่องเครื่องยนต์เข้าไปแม้แต่ชิ้นเดียว จิมคาน่าเป็นการแข่งขันที่ต้องนำรถลงแข่งก่อน แล้วจะรู้ว่าจะต้องทำยังไงกับรถดี รถที่นำมาแข่งมีความสามารสูงสุดแค่ไหน อะไหล่อะไรที่กำลังจะพังลงบ้าง จิมคาน่าจึงกลายเป็นบททดสอบวัดค่ารถ หรือเช็คสภาพรถที่ดีที่สุด ที่เราสามารถรับรู้และแก้ไขได้ด้วยตนเอง โดยที่ได้ของแถมคือความสนุกสนานเร้าใจไปกับมัน ซึ่งนอกจากความสนุกสนานแล้ว ยังได้เพิ่มเติมทักษะการขับรถในชีวิตประจำวันเข้าไปอีกด้วย การแข่งขันใช้รถแบบจิมคาน่า ไม่เหมือนการแข่งชนิดเซอร์กิตหรือดริฟท์ ที่ต้องเตรียมเครื่องยนต์หรือตกแต่งช่วงล่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ  เพื่อเตรียมความพร้อมลงไปตลุยให้ทั่วสนาม โดยทั่วไปการแข่งจิมคาน่าจะจัดการแข่งตามลานกว้างทั่วไป โดยจะมีกรวยวางไว้เป็นตัวกำหนดเส้นทาง ซึ่งกฎกติกาหากใครขับโดนกรวยจะถูกเพิ่มเวลาเข้าไปอีก 2 วินาที ส่วนใครสามารถทำเวลาได้น้อยที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน

เทคนิคในการมองสนามก่อนที่จะลงแข่งจริง สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่หรือเรียกว่ามือใหม่นั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการแข่งจิมคาน่าก็เหมือนกับแข่งในสนามแข่งทั่วไป โดยมีการนำกรวยไปวางไว้เป็นตัวกำหนดเส้นทาง แต่ในสนามนี้ไม่มีขอบสนามให้ได้เห็นเหมือนรายการแข่งขันอื่น ๆ จะเป็นแค่วิวโล่งบนลานกว้าง ซึ่งจะกลายเป็นบททดสอบที่ยากในการแข่งขันและจะประมาทในจุดนี้ไม่ได้ หากเข้าใจวิธีการและกติกาที่ได้อธิบายไปแล้ว ก็ควรนำรถที่บ้านออกมาเช็คสมรรถภาพรอได้เลย แล้วขับออกมาลุยการแข่งที่สนุกสนาน และแสนตื่นเต้น ในแบบที่ไม่มีที่ใหนให้ได้มากกว่าการแข่งขันนี้อีกแล้ว

 

รถธรรมดาที่ควรค่าแก่การฝึกดริฟท์

การดริฟท์เป็นกีฬามอเตอร์สปอร์ตอีกประเภทหนึ่ง ที่มีการจัดการแข่งขันขึ้นกันอย่างแพร่หลาย โดยใช้รูปแบบสนามการแข่งขันด้วยทางโค้ง และใช้ทักษะการควบคุมรถให้หมุนเป็นวงเข้าไลน์เส้นโค้งถนน การขับบนถนนสายดริฟท์นี้มีจุดเริ่มต้นมาจากประเทศญี่ปุ่น จากการแข่งขันกันบนภูเขาตามชนบท

ในความจริงรถธรรมดาทุกคันสามารทำการดริฟท์ได้หมือนรถที่ใช้แข่งขันในการดริฟท์ทั่วไป ขึ้นอยู่กับทักษะของผู้ขับว่าสามารถจะควบคุมให้มันทำการดริฟท์ได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถึงแม้จะทำได้เหมือน ก็ไม่สามาถที่จะทำได้ดีเท่ากับรถที่เอาไว้ใช้สำหรับในการแข่งในสนามโดยเฉพาะ ส่วนที่รถธรรมดาสามารถดริฟท์ได้นั้น เกิดจากรถที่ผู้ผลิตสร้างมาให้ไว้แก้ปัญหาสำหรับการทรงตัวในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ หรือสูญเสียการทรงตัวจากปัจจัยต่าง ๆ

ปัจจุบันได้มีการนำรถธรรมดาทั่วไปมาปรับแต่งให้เหมาะกับการแข่งขันในการดริฟท์มากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการเรีบนรู้ทักษะการดริฟท์ โดยเริ่มต้นจากมองหารถธรรมดา น้ำหนักประมาณ 1.3 ตัน และใช้กำลังขับเคลื่อนจากด้านหลัง มีกำลังเครื่องยนต์ประมาณ 200 แรงม้าขึ้นไป พอที่จะทำให้ล้อสามารถปัดเป็นวงตามไลน์โค้งได้ นอกจากนี้การเลือกรถที่หาอะไหล่ช่วงล่างเปลี่ยนได้ง่าย จะทำให้ประหยัดในการตกแต่ง และซ่อมแซมมากกว่ารถที่หาอะไหล่เปลี่ยนยาก ส่วนตัวเครื่องสำหรับรถดริฟท์ โดยส่วนใหญ่จะไปหาเครื่องมาวางเข้าไปใหม่ โดยมีแบบเครื่องที่นิยม คือ อาร์บี เจวัน เจทู เอสอาร์ 20 ฝาแดง ฝาดำ เป็นเครื่องยนต์ที่เหมาะสำหรับการดริฟท์มากที่สุด เกียร์ที่ใช้ในการฝึกและทำการแข่งสำหรับนักขับดริฟท์ เกียร์ธรรมดาจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะทำให้เทคนิคในการเข้าทำไลน์ สามารถทำได้อย่างหลากหลายแนวทางและมีความสวยงาม ซึ่งเกียร์ออโต้ก็สามารถใช้ในการทำดริฟท์ที่สวยงามได้ แต่จะไม่สามารถใช้ในเทคนิคบางอย่าง ที่เป็นการลือกเข้าทำแบบจังหวะแบบเกียร์ธรรมดาได้ ในเรื่องของยางรถ สำหรับผู้ที่อยู่ในเบื้องต้น ให้ใช้ยางเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ก็ได้ในการฝึก ให้มีทักษะพอลงแข่งได้ก่อน ถึงค่อยขยับไปใช้ยางสำหรับแข่งจริง แค่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการที่มีรถธรรมดาที่ควรค่าแก่การฝึกดริฟท์เบื้องต้นแล้ว

ข้อควรระวังหลังจากที่ได้แปลงโฉมรถอย่างเต็มสูตรในการดริฟท์แล้ว ก็คือการนำรถออกไปใช้บนถนนปกติ เพราะหลังจากที่มีการปรับแต่งเพื่อใช้แข่งขันแล้ว ช่วงล่างและท้ายจะถูกเซตให้มีการปัดเป็นวงได้ง่าย เมื่อเวลาเข้าโค้งหรือยูเทิร์นรถด้วยความเร็ว อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา แต่ถ้ายังอยู่ในช่วงปรับแต่งเบื้องต้นในการวางเครื่อง และรถที่มีกำลังขับเคลื่อนหลังปกติเท่านั้น ก็สามารถขับได้อย่างปกติ แต่ก็ต้องระมัดระวังการในการขับรถยนต์ไว้ทุกเมื่อ เพื่อจะได้มีเวลาสำหรับตลุยความมันของกีฬามอเตอร์สปอร์ตยาวนานมากขึ้น

 

การเข้า พิทสต็อป (Pit Stop) สูตรสำคัญของชัยชนะ

การแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน เป็นการแข่งขันรถที่มีความเร็วเป็นอันดับหนึ่งของโลก ตัดสินโดยการเก็บสถิติคะแนนในแต่ละสนามให้ได้มากที่สุด และนักแข่งคนใดที่สามารถพิชิตรอบที่กำหนด และเข้าเส้นขัยได้ก่อนจะเป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะและได้ขึ้นไปฉลองชัยบนโพเดียมของสนามนั้น ๆ ดังนั้นเวลาทุกวินาทีบนสนามจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแข่งขัน มีค่ามากกว่าทุกสิ่งในเวลานั้น หลายคนต่างคิดว่าถ้าทุกวินาทีมีค่าขนาดนั้น ทำไมถึงไม่วิ่งแบบรอบเดียวจบโดยไม่ต้องเข้าพิทสต็อปแล้วเข้าเส้นชัยไปรับรางวัลเลย เรื่องนี้มีความลับที่ซ่อนอยู่นั่นเอง

สำหรับในการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะวิ่งรอบเดียวโดยที่ไม่เข้า พิทสต็อป เพราะในการแข่งขันแต่ละรอบ เหตุผลแรกคือการใช้น้ำมัน ซึ่งในการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน รถที่ใช้ความเร็วมากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะกินน้ำมัน 3 ลิตรต่อกิโลเมตร ซึ่งรวมระยะทางทั้งหมดที่ต้องวิ่งต่อรอบแล้ว รถฟอร์มูล่าวันไม่สามารถวิ่งครั้งเดียวจบได้ถ้าไม่เข้าจุดพิทสต็อป ดังนั้นจึงมีการคิดวิธการเติมน้ำมันเป็นสูตรหลายรูปแบบ แตกต่างกันของแต่ละทีม เพื่อใช้ในการเข้าพิทสต็อปในแต่ละครั้ง และใช้เวลาให้น้อยที่สุด สามารถที่จะทำเวลาได้ดีขึ้นในรอบต่อไป จนถึงรอบสุดท้าย อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนยางวิ่งในแต่ละรอบการแข่งขัน สำหรับยางเส้นที่เสียหรือเปลี่ยน เพื่อจะทำให้การวิ่งในแต่ละรอบไม่เหมือนกันตามสภาพท้องถนน และจังหวะที่ต้องการจะใช้ว่ารอบนี้จะใช้เพื่อความเร็ว หรือรอบนี้จะใช้เพื่อที่จะรักษาเวลา การแข่งขันของทีม ภาคสนามของแต่ละทีมที่จุดพิทสต็อป จะถูกฝึกซ้อมให้มีการทำงานที่รวดเร็วและแม่ยำ ในการทำหน้าที่แต่ละส่วนของจุดต่าง ๆ โดยมีบันทึกไว้ว่า ทีมที่ทำเวลาได้เร็วที่สุด ใช้เวลาในการเปลี่ยนยางทั้ง 4 เส้น เพียงแค่ 1.92 วินาที

การที่มีน้ำมันในรถแข่งน้อย ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการทำเวลาให้เร็วขึ้นได้ในแต่ละรอบ เพราะน้ำหนักของรถแข่งยิ่งเบา ก็ยิ่งจะทำให้รถมีความเร็วเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถ้ารถไม่เติมน้ำมันให้เต็มถังในรอบแรก ก็อาจจะมีผลทำให้รถเบาขึ้นและสามารถทำเวลาได้ดีกว่ารถคันอื่นที่เติมน้ำมันมาเต็มถัง  ถึงแม้ว่าจะต้องเข้าพิทสต็อปบ่อย แต่สามารถทำเวลาบนสนามได้ดีกว่าคู่แข่ง จึงเป็นทฤษฎีที่หลายทีมนำไปใช้เป็นจังหวะขึ้นนำ หรือช่วงเวลาพลิคล็อคของรอบจนนำมาสู่ชัยชนะ นอกจากนี้การเข้าพิทสต็อป ยังเป็นการช่วยซ่อมแซมส่วนที่เกิดอุบัติเหตุกับตัวรถระหว่างการแข่งขัน จากอุบัติเหตุ การกระแทกต่าง ๆ หรือภัยธรรมชาติจากเศษหิน กิ่งไม้ ที่เกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด ให้สามารถกลับมาทำการแข่งขันต่อไปให้จนจบได้

ถ้าถามว่าเวลามีค่าแค่ไหน ลองมาดูเจ้าหน้าที่ในพิทสต็อปนี้ทำงานดู แค่เสี้ยววินาที ก็มีค่ามากมายสำหรับพวกเขาแล้ว

 

กีฬามอเตอร์สปอร์ต ความหมายที่แท้จริงและเรื่องราวที่หลายคนยังไม่เคยรู้

เวลาที่ได้ยินคำว่า กีฬามอเตอร์สปอร์ต ภาพแรกที่ตามมาก็คือ รถยนต์ความเร็วสูงแบบฟอร์มูล่าวัน ที่กำลังแข่งในสนามกัน ขับเคี่ยวด้วยความเร็วเพื่อไปให้ถึงเส้นชัยด้วยเวลาที่ดีที่สุดเป็นคันแรก

ความจริง มอเตอร์สปอร์ต ไม่ได้หมายถึง รถยนต์หรือการแข่งขันที่มีเพียงรถยนต์เท่านั้น แต่ยังคงมีการแข่งขันยานพาหนะชนิดอื่นรวมอยู่ด้วย มอเตอร์สปอร์ต คือ กีฬาที่รวมทุกชนิดของยานพาหนะหรืออุปกรณ์กีฬาที่มีเครื่องยนต์เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ รถบรรทุก เครื่องบิน รถจักรยานยนต์ หรือเรือ ที่เป็นยานพาหนะ และไม่ได้หมายความว่า จะใช้เพียงความเร็วเท่านั้นในการเรียก กีฬาชนิดนี้ ยังรวมไปถึงการแข่งที่ไม่ได้ใช้ความเร็วเป็นตัวตัดสินอย่าง จิมคาน่า หรือ ดริฟท์ อีกด้วย

ในประเทศไทยนั้น กีฬามอเตอร์สปอร์ตได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางมานานถึง 82 ปี โดยเริ่มต้นในสมัย รัชกาลที่ 7 พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภานุเดช ทรงเป็นนักแข่งรถชาวไทยที่ไปสร้างชื่อเสียงไว้ในเวทียุโรปมามากมาย โดยเริ่มจากเวทีแรกที่ประเทศฝรั่งเศส ในรายการ Coupe de Prince Rainier เซอร์กิตเดอโมนาโก ซึ่งปัจจุบันก็คือ โมนาโกกรังด์ปรีซ์ โดยใช้รถในการแข่งขันชื่อว่า รอมิวลุส ทรงชนะเลิศในการแข่งขันได้รับถ้วยรางวัลจากเจ้าชายเรนีย์แห่งโมนาโก และท่านได้ทรงชนะการแข่งรถกรังด์ปรีซ์ในเวทียุโรปอีกนับไม่ถ้วน จนได้รับรางวัล “ดาราทอง” จากพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งอังกฤษเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน และท่านยังได้ถูกบันทึกชื่อไว้ในหอเกียรติยศของสมาคมนักแข่งรถอังกฤษ โดยมีสมญานามว่า เจ้าพีระ ดาราทอง หลังจากนั้นท่านได้นำรถ รอมิวลุศ กลับมาขับแสดงโชว์ในประเทศไทย และจัดการแข่งขันขึ้น โดยใช้ถนนราชดำเนินเป็นเวทีการแข่งขัน และทรงมีแผนการที่จะจัดการแข่งขันกรุงเทพกรังด์ปรีซ์โดยใช้พื้นที่ถนนรอบสนามหลวง และบรมหาราชวังเป็นสนามการแข่งขัน แต่ต้องมีอันยกเลิกไปเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ท่านได้ทรงเป็นนักแข่งรถชาวไทยรายแรกและรายเดียว ที่ได้มีโอกาสเป็นนักแข่งรถร่วมลงแข่งขันในรายการฟอร์มูล่าวัน รายการแข่งรถอันดับหนึ่งของโลก ในปี 1950 – 1954  โดยที่ในปี 1954 รายการเฟรนซ์กรังด์ปรีซ์ ท่านทรงขับรถ มาเซรัตติ 250เอฟ และกำลังทำเวลาได้ดีที่สุดจนเกือบได้มีโอกาสขึ้นโพเดียมเป็นอันดับที่ 3 แต่เกิดน้ำมันหมดก่อนที่จะเข้าเส้นชัยเพียงไม่กี่อึดใจ ท่านจึงได้อันดับที่ 4 ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดของประวัติศาสตร์นักแข่งชาวไทย ก่อนที่ท่านจะทรงเลิกแข่งในปีเดียวกัน

จากวันนั้นจวบจนวันนี้กาลเวลาผ่านไป ความนิยมในกีฬามอเตอร์สปอร์ตได้เป็นที่ชื่นชอบละชื่นชมสำหรับทุกเพศทุกวัย และทวีความหลงไหลคลั่งไคล้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นมากมายภายในประเทศไทย ในทุกแบบประเภทของกีฬามอเตอร์สปอร์ต มีสนามที่ได้มาตรฐานรองรับการแข่งขันจาก FIA ถึง 4 สนาม โดยที่มีสนามผ่านมาตราฐานการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง หรือ ฟอร์มูล่าวัน 1 สนาม อยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์

 

autosport911 ครบทุกข่าวสารของวงการมอเตอร์สปอร์ต

คนที่ชื่นชอบความเร็วและเป็นคนรักรถ หลงใหลในมนต์เสน่ห์ของความเร็ว แรง รวมถึงความสวยงามของรถแข่งและรถสปอร์ต autosport911 เป็นเว็บไซต์ที่ได้รวบรวมข่าวสารในวงการรถแข่งมาฝากกัน

การแข่งรถสปอร์ตนั้นเป็นมีประวัติเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1984 ซึ่งการแข่งรถครั้งแรก เกิดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการฉลองที่สามารถผลิตรถยนต์เบนซิลขึ้นได้เป็นครั้งแรกของโลก จึงได้เกิดการจัดแข่งรถหรือที่เรียกว่ามอเตอร์สปอร์ตเกิดขึ้น ซึ่งในครั้งแรกเป็นการแข่งรถโดยระยะทาง 2 กิโลเมตรเท่านั้น และถือเป็นการแข่งรถครั้งแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จและได้รับความสนใจจากสาธารณชนเป็นอย่างดี

มาจนถึงปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าและพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้มีรถแข่งรุ่นใหม่ รวมถึงสนามและเวทีการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตระดับโลกที่ได้รับความนิยมเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่

  1. Formula1 (FIA Formula One World Championship) การแข่งรถสูตร 1 ซึ่งถือเป็นสนามการแข่งรถในระดับสูงสุด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการจัดแข่งขันในสนามระดับโลกในทวีปยุโรป ซึ่งผู้ที่จะสามารถเข้ามาร่วมแข่งขัน และเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งขัน Formula 1 ได้ จะต้องได้รับใบอนุญาต Super License จาก FIA หรือสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติเท่านั้น
  2. WTCC (FIA World Touring Car Championship) เป็นการแข่งรถยนต์ทัวร์ริ่งคาร์นานาชาติระดับโลก ซึ่งผู้ที่จะสามารถเปิดสนามเพื่อจัดการแข่งขันได้ จะต้องได้รับรองจากสหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ ซึ่งเมื่อปี 2558 สนามแข่งช้าง เซอร์กิต ในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทยของเรา ได้เคยเป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขัน WTCC ด้วย
  3. Super GT ซึ่งเป็นสนามแข่งรถยนต์ทางเรียบในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้มีการจัดแข่งขันรถยนต์ทางเรียบครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งในปัจจุบันการแข่งขัน Super GT เป็นการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบที่ได้รับความสนใจของนักแข่งและผู้ชมจากทั่วโลก และยังได้มีการจัดแข่งขันนอกประเทศญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในการแข่งขัน Super GT นี้จะมีทั้งการจัดแข่งรถในระยะสั้นที่เรียกว่า Sprint Race ซึ่งจะแข่งด้วยระยะทาง 250-300 กิโลเมตร และการแข่งขันระยะทางไกล Endurance Race ซึ่งมีระยะทางถึง 1,000 กิโลเมตร ซึ่งการจัดแข่ง Super GT ระยะไกล จะเป็นการจัดแข่งในสนามที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

สำหรับผู้ที่สนใจติดตามข่าวสารและตารางการแข่งรถแข่ง และรถสปอร์ตต่าง ๆ autosport911 เป็นเว็บไซต์ที่ได้รวบรวมตารางการแข่งขัน ไฮไลท์การแข่ง ผลการแข่งขัน รวมถึงข่าวสารต่าง ๆ ในวงการไว้เพื่อให้แฟน ๆ ที่ชื่นชอบการแข่งรถสปอร์ตได้ติดตามกันอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีเทคนิคดีดีสำหรับคนที่อยากจะก้าวเข้าสู่วงการนักแข่งมาฝากกันอีกด้วย