จิมคาน่า (Gymkhana) การเช็คสภาพรถที่แสนเร้าใจ

ในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันสำหรับรถแข่งมากมาย ที่มุ่งเน้นไปที่ความเร็วของรถยนต์ และความแรงของเครื่องยนต์ แต่จิมคาน่ากลับเป็นกีฬามอเตอร์สปอร์ตที่แตกต่างออกไป เป็นการแข่งที่ใช้ความเร็วในการแข่งระดับต่ำถึงปานกลางในการแข่งขันเท่านั้น ไม่เน้นความเร็ว ไม่เน้นความแรงของเครื่องยนต์ เน้นแต่ทักษะเทคนิคการเข้าทำ ความสามารถในแต่ละจุด ที่ผู้ขับสามารถใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ และยังเป็นพื้นฐานการฝึกที่สำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักแข่งในอนาคต

จิมคาน่า (Gymkhana) เป็นการแข่งที่เรียกได้ว่า มีการใช้ต้นทุนจัดการแข่งขัน และทำทีมแข่งที่ต่ำที่สุดในการแข่งขันรถยนต์ เพราะแค่เริ่มต้นในการเลือกรถก็ไม่ต้องใช้อะไรมาก ขอเป็นเพียงรถยนต์ที่สามารถขับได้ ก็สามารเข้าแข่งจิมคาน่าได้ทันที รถบ้านทั่วไป รถที่เอาไว้ขับไปทำงานหรือไปซื้อกับข้าว ก็สามารถนำมาลงแข่งได้ โดยไม่ต้องตกแต่งเพิ่มเติมเรื่องเครื่องยนต์เข้าไปแม้แต่ชิ้นเดียว จิมคาน่าเป็นการแข่งขันที่ต้องนำรถลงแข่งก่อน แล้วจะรู้ว่าจะต้องทำยังไงกับรถดี รถที่นำมาแข่งมีความสามารสูงสุดแค่ไหน อะไหล่อะไรที่กำลังจะพังลงบ้าง จิมคาน่าจึงกลายเป็นบททดสอบวัดค่ารถ หรือเช็คสภาพรถที่ดีที่สุด ที่เราสามารถรับรู้และแก้ไขได้ด้วยตนเอง โดยที่ได้ของแถมคือความสนุกสนานเร้าใจไปกับมัน ซึ่งนอกจากความสนุกสนานแล้ว ยังได้เพิ่มเติมทักษะการขับรถในชีวิตประจำวันเข้าไปอีกด้วย การแข่งขันใช้รถแบบจิมคาน่า ไม่เหมือนการแข่งชนิดเซอร์กิตหรือดริฟท์ ที่ต้องเตรียมเครื่องยนต์หรือตกแต่งช่วงล่าง ส่วนประกอบต่าง ๆ  เพื่อเตรียมความพร้อมลงไปตลุยให้ทั่วสนาม โดยทั่วไปการแข่งจิมคาน่าจะจัดการแข่งตามลานกว้างทั่วไป โดยจะมีกรวยวางไว้เป็นตัวกำหนดเส้นทาง ซึ่งกฎกติกาหากใครขับโดนกรวยจะถูกเพิ่มเวลาเข้าไปอีก 2 วินาที ส่วนใครสามารถทำเวลาได้น้อยที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน

เทคนิคในการมองสนามก่อนที่จะลงแข่งจริง สำหรับผู้ที่เริ่มใหม่หรือเรียกว่ามือใหม่นั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการแข่งจิมคาน่าก็เหมือนกับแข่งในสนามแข่งทั่วไป โดยมีการนำกรวยไปวางไว้เป็นตัวกำหนดเส้นทาง แต่ในสนามนี้ไม่มีขอบสนามให้ได้เห็นเหมือนรายการแข่งขันอื่น ๆ จะเป็นแค่วิวโล่งบนลานกว้าง ซึ่งจะกลายเป็นบททดสอบที่ยากในการแข่งขันและจะประมาทในจุดนี้ไม่ได้ หากเข้าใจวิธีการและกติกาที่ได้อธิบายไปแล้ว ก็ควรนำรถที่บ้านออกมาเช็คสมรรถภาพรอได้เลย แล้วขับออกมาลุยการแข่งที่สนุกสนาน และแสนตื่นเต้น ในแบบที่ไม่มีที่ใหนให้ได้มากกว่าการแข่งขันนี้อีกแล้ว

 

ความสำคัญในการชั่งน้ำหนักของนักแข่งรถหลังเสร็จสิ้นภารกิจบนสนาม

โพเดียมไม่ใช่ที่แรก ที่จะต้องยืนเมื่อได้รับชัยชนะ แต่เป็นตราชั่งน้ำหนักเท่านั้นที่นักแข่งรถต้องไปยืน เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจจากการประลองความเร็วบนสนามเรียบร้อยแล้ว นักแข่งรถทุกคนจะต้องไปชั่งน้ำหนักในสถานที่ที่ ทางสนามจัดเตรียมไว้ให้ เนื่องจากการแข่งขันรถจะมีกติกามาตราฐานระดับสากลจาก FIA  ที่ว่าด้วยเรื่องของน้ำหนักของรถและนักแข่งรถ ซึ่งจะมีกฎของน้ำหนักที่เปลี่ยนไปในแต่ละปี ในแต่ละรายการของการจัดแข่ง เนื่องจากยานยนต์ที่มีการพัฒนาไม่เหมือนกันทางด้านนวัตกรรม รวมถึงพัฒนาความปลอดภัยของนักแข่งรถด้วย

ยกตัวอย่ากฎการชั่งน้ำหนักของการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง หรือ ฟอร์มูล่าวัน ที่ถึงแม้จะเป็นรถที่มีสูตรหนึ่ง แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักในแต่ละปีไม่ซ้ำกัน โดยได้ตั้งกฎการชั่งน้ำหนักครั้งแรกในระหว่างปี 1961- 1965 น้ำหนักและคนขับรถต้องรวมกันไม่ต่ำกว่า 450 กิโลกรัม ต่อมาในปี 1966-1969 ได้มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอีกครั้ง โดยเพิ่มจากเดิมมาเป็นน้ำหนักที่ไม่ต่ำ 500 กิโลกรัม เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 ส่วนครั้งที่ 3 เปลี่ยนแปลงในปี 1970 กำหนดให้เพิ่มขึ้นมาอีกไม่ต่ำกว่า 530 กิโลกรัม ครั้งที่ 4 ปี 1972 เพิ่มเป็น 550 กิโลกรัม เปลี่ยนกันเกือบปีต่อปีเลยทีเดียว ครั้งที่ 5 ในปีเดียวเท่านั้น FIA ให้เพิ่มเป็นน้ำหนักห้ามต่ำกว่า 575 กิโลกรัม ยาวจนมาถึง ปี 1982 ที่เพิ่มน้ำหนักห้ามต่ำกว่ามากถึง 580 กิโลกรัม ก่อนที่จะลดลงในปีถัดมา ปี 1983 เป็น 540 กิโลกรัม และเป็นครั้งที่ 6 ในการเปลี่ยนแปลงการชั่งน้ำหนัก นับตั้งแต่จัดการแข่งขันเอฟวันขึ้นมา ผ่านมาอีก 4 ปี ในปี 1987 จึงเปลี่ยนแปลงการชั่งน้ำหนักอีกครั้งเป็นห้ามต่ำกว่า 500 กิโลกรัม ลดลงมาจากเดิมถึง 40 กิโลกรัม ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนอีกหลายครั้ง จากปี 1987 – 2003 น้ำหนักตัวเลขจะอยู่ที่ระหว่าง 500-590 กิโลกรัม และกระโดดไปสูงถึง 600 กิโลกรัม ในปี 2004-2013 ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสูงสุดในประวัติศาสตร์ในปี 2015 จนถึงปัจจุบัน ห้ามต่ำกว่า 702 กิโลกรัม เพราะว่ามีแบตเตอรี่และอุปกรณ์ส่งกำลังความเร็วที่ถูกวิวัฒนาการเข้ามาเสริมมากขึ้น

การชั่งน้ำหนักจึงเป็นที่กติกาสำคัญมากในการแข่งขัน เพราะถ้าต่ำกว่าจะเป็นการที่ทำให้รถเบากว่ารถแข่งคันอื่นอื่น และมีสิทธิ์ได้รับชัยชนะเหนือกว่านักแข่งรถที่ร่วมเข้าแข่งขัน รวมถึงยังอันตรายกว่านักแข่งรถคนอื่นอีกด้วย และหากมีน้ำหนักรวมกันไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะถือว่าเป็นการผิดกติกาและปรับแพ้ในทันที จากที่เห็นน้ำหนักได้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามยุคสมัย แต่สาเหตุหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันคือ ได้มีการทดสอบน้ำหนักของรถ ในระยะทาง ความเร็วที่ปลอดภัย ในสนามการแข่งขัน ในความเร็วของแต่ละจุด เพื่อไม่ให้โศกนาฏกรรม แบบที่เคยเกิดขึ้นครั้งในอดีตกลับมาอีก