“วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์” นักแข่งไทยคนแรกที่คว้าแชมป์ GT World Challenge Asia

Blancpain GT World Challenge Asia ถือเป็นรายการแข่งขันรถซูเปอร์คาร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเอเชีย โดยผู้ชนะจะได้สิทธิเข้าแข่งขันในรายการ FIA GT World Cup ซึ่งทุกครั้งที่ผ่านมาจะมีนักแข่งรถชาวไทยเข้าร่วมประลองความเร็วในทุกรุ่นการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น GT3 Silver, GT3 Pro-Am, GT3 Am และ GT4 แต่ไม่เคยมีใครเข้าใกล้ตำแหน่งแชมป์สักครั้งเดียว จนกระทั้ง “วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์” จากทีม Panther/AAS Motorsport คว้าแชมป์ในรุ่น GT3 Pro-Am ได้สำเร็จในปี 2019

วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์ ถือเป็นนักแข่งรถที่มากประสบการณ์ กวาดรางวัลมาแล้วมากมายทั้งระดับประเทศและนานาชาติ โดยคลุกคลีกับวงการมอเตอร์สปอร์ตมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี จากการเป็นบุตรชายคนโตของเจ้าสัวอนุศักดิ์ อินทรภูวศักดิ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด บริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายรถยนต์ปอร์เช่และเบนท์ลีย์อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย แม้ในปัจจุบันจะดำรงตำแหน่งประธานบริหารบริษัท แต่เขาก็ยังไม่ทิ้งอาชีพนักแข่ง โดยเป็นผู้ก่อตั้งทีม ASS Motorsport และยังเป็นนักแข่งประจำทีมอีกด้วย

วุฒิกรเคยเข้าร่วมการแข่งขัน Blancpain GT World Challenge Asia ในรุ่น GT3 Pro-Am  มาแล้วเมื่อปี 2017 ในนามทีม est cola Thailand โดยขับ Porsche911 GT3 R ลงแข่งขันไปเพียง 2 สนาม ในสนามที่ 3 และ 4 ของรายการ ซึ่งจัดขึ้นที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บได้ 3 แต้ม จากการจบในอันดับที่ 9 และอันดับที่ 10 ตามลำดับ

ภายหลังก่อตั้งทีม ASS Motorsport วุฒิกรเข้าร่วมการแข่งขัน Blancpain GT World Challenge Asia อีกครั้งในปี 2019 ซึ่งได้ Alexandre Imperatori นักแข่งรถชาวสวิสมาเป็นทีมเมท โดยเลือกใช้ Porsche911 GT3 R เหมือนเดิม และตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันครบทั้ง 12 สนาม ก่อนจะซิ่งปอร์เช่คู่ใจเข้าเส้นชัยเป็นคันแรกในรุ่น GT3 Pro-Am  ถึง 5 สนาม จากสนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย, สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศไทย, สนามฟูจิ สปีดเวย์ ประเทศญี่ปุ่น, สนามเกาหลี อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศเกาหลีใต้ และสนามเซี่ยงไฮ้ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศจีน โดยทำคะแนนได้เป็นอันดับ 1 ในรุ่น GT3 Pro-Am คว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จ แถมยังทำคะแนนรวมได้ถึง 141 คะแนน รั้งอันดับ 2 Overall  ตามหลัง Roelof Bruins นักแข่งชาวดัตช์ที่เลือกใช้ Mercedes-AMG GT3 และคว้าแชมป์ GT3 Silver ไปครอง เรียกได้ว่าสร้างความฮือฮากระฉ่อนไปทั่วในเว็บ VWIN เลยทีเดียว

การคว้าแชมป์ของวุฒิกรครั้งนี้ ทำให้เขาได้รับเลือกให้เข้าแข่งขันรายการ FIA Motorsport Games GT Cup ในนามทีมชาติไทย ร่วมกับทีมชาติจากทั่วโลกอีก 21 ประเทศ ณ สนาม ACI Vallelunga Circuit ประเทศอิตาลี โดยครั้งนี้ได้ กันตธีร์ กุศิริ เป็นทีมเมท พร้อมด้วย Porsche911 GT3 R คันเดิม ทั้งคู่ช่วยกันขับปอร์เช่คู่ใจทำคะแนนในรอบจัดอันดับจนได้ลำดับการปล่อยตัวเป็นที่ 6 ในรอบ Main Race ซึ่งในการแข่งขันรอบตัดสินช่วงแรก ทีมชาติไทยสามารถเร่งเครื่องจนขึ้นไปอยู่ในอับดับ 1 แต่ด้วยสภาพอากาศที่มีฝนตกอย่างหนักและความไม่คุ้นเคยกับสนาม ทำให้พวกเขาหลุดจากแทร็กในช่วงโค้งที่ 4  จนต้องออกจากการแข่งขันไปก่อนจะเข้าเส้นชัย

ปัจจุบันประเทศไทยถือเป็นผู้นำการจัดการแข่งขันรถยนต์ของอาเซียน โดยมีการแข่งขัน Thailand Super Series ซึ่งจัดขึ้นประจำทุกปีเป็นกำลังสำคัญในการสร้างนักแข่งรถยนต์รุ่นใหม่ ความสำเร็จของวุฒิกรถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการมอเตอร์สปอร์ตไทยในเวทีระดับโลก นับเป็นแรงบันดาลใจที่ดีให้แก่นักแข่งรุ่นน้องที่จะช่วยผลักดันให้พวกเขาก้าวขึ้นมาประสบความสำคัญระดับโลกในอนาคต

NASCAR วิ่งวนวนเป็นวงรี มันสนุกตรงไหนเนี่ย

ลองนึกภาพตัวเองนั่งอยู่ในรถดัดแปลงที่มีแต่ที่นั่ง เครื่องยนต์ โครงเหล็ก และแผ่นไฟเบอร์ที่ครอบตัวรถเพื่อให้ดูรูปร่างว่ามันเป็นรถ วิ่งด้วยพลังสองร้อยแรงม้า ความเร็วเฉลี่ย 300 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง วิ่งวนบนถนนเป็นวงรีพร้อมรถคู่แข่งที่แรงพอ ๆ กัน เป็นระยะทาง 500 ไมล์ พลาดสติหลุดเพียงนิดเดียวมีสิทธิ์ลอยไปฟาดผนังจนรถกระจุยกระจายได้ทุกเสี้ยววินาที ลองคิดดูแล้วกันว่าการเป็นนักแข่ง NASCAR ต้องคลั่งแค่ไหนถึงจะลงมาแข่งอะไรประเภทนี้ได้ คนดูในสนามยิ่งคลั่งมากกว่า เพราะสามารถได้เห็นไหวพริบนักแข่งที่ช่วงชิงความได้เปรียบในช่วงวินาที ได้เห็นรถลายกราฟฟิกสวย ๆ มาประลองกัน ขณะเดียวกันก็มีสิทธิได้เห็นรถเหล่านั้นชนกันวินาศสันตะโร มันช่างสร้างความมันดีแท้

ความเป็นมาและกฎกติกาสุดมึน

บิล แฟรนซ์ ซีเนียร์ หรือ บิ๊กบิล ผู้ก่อตั้ง เขาและภรรยาย้ายมาเปิดอู่ซ่อมรถที่ฟลอริด้า ซึ่งสมัยนั้นมีพวกคลั่งแต่งรถมาประชันความเร็วกันทุกสัปดาห์ที่หาดเดโทน่า เขาเฝ้ามองการแข่งรถและความคลั่งไคล้ความเร็วของผู้คน เขาตั้งปณิธานไว้ว่าจะต้องจัดการแข่งรถที่ยิ่งใหญ่ขึ้นที่นี่ให้ได้ และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาจึงรวมกลุ่มสมาคมแข่งรถทั่วประเทศ มาจัดตั้ง National Association for Stock Car Auto Racing หรือ NASCAR และจัดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้

ซึ่งกฎการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาจนปัจจุบัน คนจะดูการแข่งให้รู้เรื่องควรจะเข้าใจกฎกติกาก่อน ซึ่งการแข่งขันแต่ละสนามจะแต่งต่างกันไป เช่น เดโทน่า 500 แปลว่าสนามนี้จะแข่งกัน 500 ไมล์ ใครวิ่งครบก่อนเป็นฝ่ายชนะ ซึ่งเมื่อเอาระยะทางที่ต้องวิ่งมาหารด้วยระยะรอบของสนาม ก็จะได้จำนวนรอบที่ต้องแข่ง จากนั้นจะแบ่งเป็นสามสเตจ

สเตจแรกกับสเตจที่สองวิ่ง 25 % และที่เหลือจะวิ่งในสเตจที่สาม สเตจที่ 1 และ 2 จะให้คะแนนอันดับที่ 1 – 10 และสเตจที่ 3 จะให้คะแนนอันดับที่ 1 – 40 เมื่อวิ่งจบสเตจก็จะมีธงเหลืองให้พักแต่ไม่หยุดวิ่ง ใครจะเข้าพิทก็ตามใจแต่จะเสียอันดับ อันนี้ก็แล้วแต่แผนการของแต่ละทีม เมื่อผ่านไป 26 สนาม จะตัด 16 คนที่คะแนนมากที่สุดเข้ารอบเพลย์ออฟ แต่ที่เหลือจะยังแข่งอยู่ได้เพื่อเก็บคะแนนสะสม จากนั้นทุก ๆ สามสนามจะตัดออกทีละ 4 คน จนเหลือ 4 คนสุดท้ายมาแข่งในสนามสุดท้าย สนามที่ 36 หาแชมป์คว้ารางวัล 1 ล้านดอลล่า

กีฬาอเมริกันชนคือความสุดโต่ง

สำหรับกีฬาของชาวอเมริกันบางอย่างมันก็สวนทางกับความเข้าใจของแฟนกีฬาประเทศอื่น ไม่ว่าจะอเมริกันฟุตบอล เบสบอล หรือ NASCAR บางครั้งมันก็เข้าใจยากสำหรับคนอื่น ๆ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอเมริกันมันต้องสุดอยู่แล้วทั้งจำนวนผู้ชม สปอนเซอร์หรือความคลั่งไคล้ ถ้าอยากจะเข้าใจจริงบางทีอาจจะต้องศึกษาและค่อย ๆ ซึมซับให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เราอาจจะได้เข้าใจว่ารสชาติความมันแบบอเมริกันมันเป็นยังไง

3 บทเรียนของ BMW จากการแข่งขัน The Mexico City E-Prix

เริ่มทยอยเปิดสนามแข่งกันไปแล้วกับสังเวียนมอเตอร์สปอร์ต 2019 ที่หลายทีมก็เริ่มลงไปลองลงแข่งเพื่อทำการเทสรถค่ายของตัวเองกันมาบ้างแล้ว รวมถึง  BMW I Andretti Motosport ที่ได้ลงแข่งขันในฤดูกาลแรกของ ABB FIA Formular E Championship ซึ่งทางวิศวกรของทีม ก็ได้ออกมายอมรับและ เปิดเผยว่า ในการลงสนามแข่งครั้งนี้ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมอีกทั้งยังทำให้ทีม BMW ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนารถแข่ง BMW iFE.18 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการลงแข่งใน

นัดต่อไป วันนี้เราจึงได้นำ 3 บทเรียนที่ทีม BMW I Andretti Motosport ได้เรียนรู้จากสนามแข่ง The Mexico City E-Prix มาฝากกัน

อุณหภูมิยางรถ

                อุณหภูมิของยางรถแข่งเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ในฤดูกาลแรกนี้อุณหภูมิของยางรถ BMW iFE.18 กลายเป็นปัญหาของที่วิศวกร BMW I Andretti Motosport ต้องขบคิดและหาทางแก้กันอย่างหนักเนื่องจากเลย์เอาท์ของสนามรูปแบบพิเศษในสนามแข่ง Mexico City  นั้น เป็นสนามแข่งแบบถาวร ยางมะตอยในสนามจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อมีความร้อนมากขึ้น ส่งผลให้ยางล้อหลังด้านซ้ายของรถแข่ง BMW มีอุณหภูมิสูง ขึ้นตามไปด้วย

ลำดับของนักแข่ง

                การจัดลำดับก่อนหลังของนักแข่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเข้าเส้นชัย ซึ่งจากประสบการณ์ในสนามแรกที่ผ่านมาพบว่าการจัดอันดับของนักแข่งของกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ยังไม่สามารถทำเวลาได้เร็วพอที่จะสามารถคว้าชัยชนะจากการแข่งขันได้ อีกทั้งในช่วงกลางของการแข่งขันนักแข่งยังเกิดอุบัติเหตุแต่ยังโชคดีที่รถกระเด็นออกไปทางด้านหลังของสนาม และยังโชคดีที่เป็นอุบัติเหตุในช่วงกลางของการแข่งขันซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้น้อยกว่าช่วงเริ่มต้นของการแข่งขันมาก

การจัดการพลังงาน

                ดังสุภาษิตของการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตที่ว่า “To finish first, you first to finish” ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในการแข่งขัน The Mexico City E-Prix เนื่องจากรถแข่งจำนวนมากสูญเสียพลังงานไปอย่างมากในรอบสุดท้าย แต่ไม่เป็นปัญหาสำหรับทีม BMW ที่ต้องยกความดีความชอบในเรื่องของความแม่นยำในการจัดการพลังงานให้กับทีมวิศวกร ที่ทำการคำนวณพลังงานอย่างละเอียดในทุกเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ BMW iFE.18 สามารถจัดการพลังงานได้อย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์แบบ ถือเป็นสิ่งที่ทีม BMW ทำได้ดีมากในการแข่งขันฤดูกาลแรกนี้

                ก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่าทีม BMW จะสามารถนำประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ไปปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในสนามต่อ ๆ ไปได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งนอกจากทีม BMW I Andretti Motosport แล้ว ยังเชื่อว่าในการลงสนามแข่งนัดแรก ๆ ของฤดูกาลปี 2019 จะเป็นบททดสอบของรถแข่งจากค่ายและทีมอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน 

Sebastian Vettel แชมป์โลก 4 สมัยจากทีม Ferrari

สำหรับการแข่งขัน F1 ฤดูกาลปี 2019 นี้แน่นอนว่าชื่อของ Sebastian Vettel อดีตแชมป์โลก 4 สมัยย่อมอยู่ในลิสต์รายชื่อนักแข่งทีม Ferrari เป็นแน่ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับทัวร์นาเมนต์ระดับโลกที่กำลังจะมาถึง วันนี้เราจึงได้นำเอาประวัติที่น่าสนใจของนักแข่งระดับโลกคนนี้มาฝากกัน

ประวัติความเป็นมาและจุดเริ่มต้นการเป็นนักแข่ง

                Sebastian Vettel เป็นนักแข่งรถชาวเยอรมันที่ไต่เต้ามาตั้งแต่การแข่งขันในระดับเยาวชน โดยเริ่มแข่งโกคาร์ทสมัครเล่นตั้งแต่ตอนที่มีอายุได้เพียง 3 ขวบและเข้าสู่การแข่งโกคาร์ทระดับซีรีย์ในปี 1995 เมื่อตอนที่มีอายุได้แค่ 8 ขวบ ต่อมาเขาก็ได้เข้าไปเป็นสมาชิกของทีม RedBull Junior ตั้งแต่เมื่อมีอายุได้ 11 ปี สามารถสร้างผลงานในระดับเยาวชนได้อย่างยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล German Formular BMW Championship ปี 2004 ด้วยการชัยชนะ 18 รายการจากการแข่งขัน 20 ครั้ง ทำให้ Vettelเป็นนักแข่งอายุน้อยที่เริ่มมาจากระดับเยาวชนจนกลายเป็นนักแข่งที่ประสบความสำเร็จระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว

ผลงานในสนาม F1   

                Sebastian Vettel เริ่มเข้าสู่วงการแข่งรถ F1 โดยการเข้าร่วมเป็นนักแข่งเพื่อทำการทดสอบรถ BMW Sauber และได้เปิดตัวเป็นนักขับให้กับทีมเป็นครั้งแรกในการแข่งขันสนาม United Grand Prix เมื่อปี 2007 โดยในครั้งนั้นเขาเป็นนักแข่งที่ถูกเปลี่ยนเพื่อขับแทน Robert Kubica ที่ได้รับบาดเจ็บในระหว่างการแข่งขัน หลังจากนั้นในการแข่งขัน Season เดียวกันเขาก็ได้เป็นนักขับร่วมกับ Toro Rosso สังกัดทีม RedBull และได้ร่วมทีมจนถึงปี 2008 ซึ่งปีเดียวกันนี้เองที่เขาได้สร้างสถิติเป็นนักขับร่วมที่อายุน้อยที่สุดที่ชนะการแข่งขันสนาม Italian Grand Prix 2008 ในขณะที่เขามีอายุได้เพียง 21 ปี

                Vettel สร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในสนาม F1 และเป็นนักแข่งรถสูตร 1 ที่อายุน้อยที่สุดในโลกที่สามารถคว้าแชมป์ F1 ไปได้ในขณะที่มีอายุเพียงแค่ 23 ปี จนได้รับรางวัล World Driver’s Championship อีกทั้งยังสามารถคว้าแชมป์โลกไปได้ถึง 4 สมัยอย่างต่อเนื่องให้กับทีม Redbull ในฤดูกาลปี 2010 – 2013 ก่อนที่จะออกจากทีม RedBull ในปี 2015 เพื่อมาเซ็นต์สัญญากับทีม Ferrari              

                ปัจจุบัน Sebastian Vettel อายุ 30 ปี ได้ชื่อว่าเป็นนักแข่งรถสูตร 1 ที่ยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ นอกจากสถิติการเป็นแชมป์โลกที่อายุน้อยที่สุดแล้ว เขายังถูกจัดอยู่ในอันดับ 3 ของนักแข่งที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับแรกในทุกสนาม และยังคงเซ็นต์สัญญากับทางเฟอรรารี่ไปจนถึงสิ้นปี 2020 สำหรับในปี 2019 นี้เขาจะทำผลงานได้ดีแค่ไหนแฟน ๆ ก็ต้องติดตามกันดู

รถแข่งที่คาดว่าจะทำความเร็วได้ดีขึ้นจากกฎใหม่ของ F1 2019

สืบเนื่องจากการปรับปรุงกฎการแข่งขันของ F1 ในปี 2019 นี้ ฝ่ายเทคนิคที่จัดการแข่งขันได้มีการคาดการณ์ถึงรถแข่งที่จะสามารถปรับปรุงสมรรถนะเพื่อให้สามารถขับขี่ได้เร็วกว่าเดิม แม้หลายฝ่ายจะคาดการณ์ตรงกันข้ามว่ากฎใหม่ที่ออกมาจะส่งผลให้รถแข่งทั้งหลายมีความเร็วช้าลงก็ตาม เพราะฉะนั้นเรามาดูกันว่ารถจากค่ายไหนที่มีโอกาสโชว์ฟอร์มได้ดีขึ้นกว่าเก่าในฤดูกาลหน้า

Ferrari จ้าวแห่งความเร็ว

                ขณะนี้ทีม F1 ได้เริ่มทำการทดสอบเพื่อคาดการณ์ผลที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงกฎใหม่ของรถแข่ง ซึ่งได้ผลลัพธ์ออกมาว่ารถแข่งทั้งหลายมีโอกาสที่จะทำความเร็วต่อรอบได้ช้ากว่าสถิติของปี 2018 เป็นเวลา 2 วินาที

                ล่าสุด Mattia Binotto หัวหน้าทีมเฟอร์รารี่ได้กล่าวในงานเปิดตัวรถยนต์ในปี 2019 ของทีมเมื่อต้นเดือนนี้ว่า ทีมเฟอร์รารี่มีการคาดการณ์ว่าการเปลี่ยนกฎดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบต่อรถแข่งของทีม Ferrari เป็นเวลา 1.5 วินาทีต่อรอบ ซึ่งผลดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทดสอบในครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตามจากการทดสอบครั้งล่าสุดที่ผ่านมาพบว่าการเปลี่ยนกฎดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับความเร็วของเฟอร์รารี่แต่อย่างใด อีกทั้งรถแข่งยังสามารถทำความเร็วได้เทียบเคียงกับสถิติเมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมาอีกด้วย ซึ่งทีมสามารถเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนจากฝีมือการขับของ Lewis Hamilton ในการทดสอบช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่บาร์เซโลนาซึ่งสามารถทำความเร็วได้ดีขึ้น 

โอกาสของ Renault

                นอกจากทีม Ferrari แล้ว Nick Chester หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของ Renault ยังคาดการณ์ว่ารถแข่งของทีมในฤดูกาลปี 2019 ที่กำลังจะมาถึงนี้จะสามารถทำความเร็วได้ดีกว่าผลงานในปี 2018 โดยทางทีมคาดว่าในการทดสอบสัปดาห์หน้ารถแข่งจะสามารถทำเวลาได้ดีขึ้นเนื่องจากการปรับปรุงสมรรถนะบางอย่าง

จากการทดสอบครั้งล่าสุดพบว่าในช่วงท้ายของการ Test รถของทีม Renault สามารถทำความเร็วได้ดีว่าผลงานในช่วงท้ายของปี 2018 ในขณะเดียวกันทางทีมวิศวกรก็ยังคงพยายามที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในทุกรายละเอียด โดยเฉพาะเรื่องของกฎใหม่ที่ส่งผลทำให้รถเสียน้ำหนักไปเล็กน้อยจนเกิดผลกระทบทำให้เสียสมดุล ซึ่งเชื่อว่าปัญหาข้อนี้เป็นสิ่งที่หลายทีมก็ล้วนต้องเจอและต้องแก้ไขเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญก็คือทีมจะต้องเรียนรู้ข้อผิดพลาดและแก้ไขโดยเร็วที่สุด กฎใหม่ที่ออกมาในครั้งนี้ถือเป็นการพิสูจน์ฝีมือและเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของทีมวิศวกร Renault เลยก็ว่าได้

                จากการเปลี่ยนกฎใหม่ของการแข่งขัน F1 ในปี 2019 ส่งผลให้แต่ละทีมต้องปรับปรุงรถแข่งกันยกใหญ่ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าทีมวิศวกรและฝ่ายเทคนิครวมถึงนักแข่งของทีมไหนจะสามารถโชว์ฟอร์มเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้ดีที่สุด

Mercedes เปลี่ยนปีกหน้ายกชุดเตรียมพร้อมรับการแข่งขัน F1 ฤดูกาล 2019

สืบเนื่องจากการออกกฎของคณะกรรมการแข่งขัน Formular 1 ในปี 2019 ที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการกระบวนการไหลของอากาศ (Airflow) ด้านหน้าของรถที่ต้องมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้ทีมต่าง ๆ ต้องพากันปรับปรุงรถแข่งของตัวเอง รวมถึงทีม Mercedes ก็เช่นเดียวกัน

Mercedes เตรียมพร้อม เปลี่ยนปีกหน้ายกชุด

                สำหรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ Mercedes กล่าวว่า ถือเป็นแนวคิดที่ดีในการจะเปลี่ยนปีกหน้าให้ออกมาคล้ายกับคอนเซ็ปต์ของ Ferrari และคงต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนกว่าจะเสร็จ แต่ก็ยอมรับว่านี่จะเป็น

การเปิดกว้างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิม

                “คุณต้องมีใจที่เปิดกว้าง” หัวหน้าทีมของ Mercedes กล่าวล่าสุดในงานอีเว้นท์ของ Petronas ที่ Mercedes ร่วมเป็นสปอนเซอร์ อีกทั้งยังกล่าวต่อว่าทีมของเขายังมีปรัชญาการออกแบบที่แตกต่างจากทีมอื่น ๆ เพราะถ้าทุกคนเปิดใจในสิ่งที่คนอื่น ๆ ทำ รวมถึงทุกคนในทีมสามารถทำตามหน้าที่ของตัวเองได้ดีขึ้น นั่นหมายถึงว่าเราจะสามารถนำสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงพัฒนามาใส่รถและทำการทดลองเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ ซึ่งแน่นอนว่าการเปลี่ยนปีกหน้าที่ต้องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพลศาสตร์และมาตราส่วนของรถนั้นย่อมไม่ใช่แค่การใช้เวลาเป็นวันหรือสัปดาห์แต่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นเดือนเลยทีเดียว

                Timeline การเปลี่ยนปีกหน้าของ Mercedes ในครั้งนี้คาดว่าต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนหลังจากได้คอนเซ็ปต์ เนื่องจากการจะพัฒนาปีกหน้าที่มีความแตกต่างจากรูปแบบเก่าอย่างสิ้นเชิงให้สามารถใช้งานได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อีกทั้งทีมยังมีความพยายามที่จะใช้แรงดันเพื่อให้ล้อรถดันออกมาด้านนอกมากที่สุดเพื่อให้ได้ดีไซน์และการขับเคลื่อนที่ดีที่สุด รวมถึงการออกแบบเพื่อให้เกิดความสมดุลขึ้นเพียงเล็กน้อยก็มีส่วนที่จะทำให้รถยนต์สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละเงื่อนไขนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยโซลูชั่นที่แตกต่างกัน  

ความคืบหน้าของทีมอื่น ๆ    

ในขณะที่ Mercedes และ Red Bull เลือกใช้การออกแบบปีกหน้าด้วยดีไซน์ที่ดูเหมือนจะกลับไปสู่ความดั้งเดิมมากขึ้น แต่ทีมอย่าง Ferrari และ Alfa Romeo กลับทำสิ่งที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิงคือการออกแบบขอบด้านนอกของปีกด้านหน้าให้เอียงไปทางด้านท้ายมากที่สุด โดย Ferrari ได้เริ่มทำการทดสอบปีกหน้าใหม่ที่มีความแข็งแกร่งนี้ตั้งแต่ฤดูกาลที่แล้ว ส่วน Toyota ซึ่งเห็นว่าทีมของตัวเองทำได้ดีมากแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็กำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะทำให้รถแข่งของตัวเองมีสมรรถนะที่ดีขึ้นกว่าเดิม

หลังจากการเปลี่ยนแปลงปีกหน้าของ Mercedes, Red Bull, Ferrari, Alfa Romeo และ Toyota รวมถึงทีมอื่น ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วแฟน ๆ ออโต้สปอร์ตก็คงต้องรอดูว่าผลลัพธ์และผลงานของทีมใดจะเด็ดกว่ากัน

เรื่องราวเบื้องหลังสถิติมอเตอร์สปอร์ตที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

หลังจากการทดสอบรวมถึงการรวบรวมข้อมูลของการแข่งขันรถสูตร 1 ของ Forix ซึ่งใช้เวลายาวนานได้สิ้นสุดลงไปแล้ว เราก็ได้นำเอาเรื่องราวเบื้องหลังการเก็บสถิติมอเตอร์สปอร์ตที่เชื่อว่ายังไม่มีใครรู้มาฝากกัน

Forix ผู้อยู่เบื้องหลังการเก็บสถิติ         

                จากเกาะ Azores ที่ไกลออกไป Jaoa Paulo Cunha ใช้เวลามากกว่า 30 ปี ในการรวบรวมและประมวลผลสถิติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความแม่นยำและครอบคลุมมากที่สุดจากการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ต    

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่าน Jaoa Paulo Cunha และทีมงานของ Forix ได้ใช้เวลาในการทำงานเพื่อจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในการแข่งขันรถแข่งรวมถึงเรื่องของล้อรถยนต์ทั้ง 4 ล้อไปจนถึงตัวมอเตอร์ไว้อย่างครบถ้วน อย่างที่เรียกได้ว่ามีการเก็บทุกสถิติในโลกที่เกี่ยวข้องกับการแข่งรถที่แฟน ๆ ให้ความสนใจก็ว่าได้

ในบางช่วงที่มีซีซั่นการแข่งขันทีมงานของพวกเขาต้องทำงานกันอย่างต่อเนื่องถึง 18 ชั่วโมง อย่างไม่มีวันหยุดรวมถึงวันอาทิตย์ ทำให้ตอนนี้ Forix มีข้อมูลการแข่งขันรถทั้งสิ้น 515 ซีรีย์ทั้งที่มีการจัดแข่งขันขึ้นในปี 2018 และรายการที่ไม่มีการจัด มีข้อมูลผลการแข่งขันกว่า 52,000 สนาม รวมถึงข้อมูลของนักแข่งกว่า 70,000 คนและรถแข่งกว่า 6,000 คัน

จากงานอดิเรกนำไปสู่การเก็บสถิติระดับโลก

Jaoa Paulo Cunha กล่าวว่า ตอนแรกการเก็บข้อมูลเหล่านี้ก็เหมือนจะเป็นงานอดิเรก เนื่องจากเขาเป็นแฟนตัวยงของการแข่งขันรถ F1 เขาก็เลยตามเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วบันทึกลงไปในคอมพิวเตอร์และทำมันมาอย่างต่อเนื่องจนเริ่มกลายเป็นงานที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุด Forix ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ที่ทำการเก็บรวบรวมและประมวลผลสถิติต่าง ให้กับการจัดแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตและเข้าร่วมเป็นเครือข่ายพันธมิตรของการแข่งขันทั้งหลายเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2016 นับจากวันนั้นถึงวันนี้นับเป็นระยะเวลาถึง 50 ปีของ Jaoa Paulo Cunha เรียกได้ว่าทำมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่เลยทีเดียว และสาเหตุที่เขาเลือกที่ตั้งในการทำงานอยู่ที่เกาะ Azores ก็เนื่องจากสะดวกสำหรับการเก็บข้อมูลการแข่งขันที่อยู่ในสนามของแต่ละประเทศซึ่งมี Timezone แตกต่างกันนั่นเอง

สำหรับความแม่นยำของการเก็บข้อมูลนั้น Jaoa Paulo Cunha ยังกล่าวต่อว่า ในบางครั้งการเก็บข้อมูลของ Forix ยังมีความแม่นยำกว่าการเก็บข้อมูลของผู้จัดงานเสียอีก ทำให้บริษัทมีส่วนช่วยในการเก็บสถิติของมอเตอร์สปอร์ตได้มากจนได้รับการยอมรับและได้รับความเชื่อถือจากเหล่าผู้จัดระดับโลก

สำหรับแฟน ๆ ที่สนใจการเก็บข้อมูลการแข่งรถระดับโลกซีรีย์ต่าง ๆ จาก Forix คุณสามารถค้นหาข้อมูลและเข้าถึงบริการในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทางออนไลน์

Brad Keselowski พา Ford New Mustang คว้าแชมป์ NASCAR CUP ฤดูกาลแรกปี 2019

Brad Keselowski กลับมาผงาดสังเวียนการแข่งรถระดับโลกอีกครั้งสำหรับฤดูกาลแรกของถ้วย NASCAR CUP ของปี 2019 โดยครั้งนี้เขาได้พา Ford New Mustang รถสปอร์ตรุ่นใหม่จากค่ายฟอร์ดเข้าเส้นไปได้หลังฟื้นจากอาการป่วย 

Brad Keselowski กลับคืนสังเวียน

                Bladley Asron Keselowski เป็นนักแข่งรถมืออาชีพชาวอเมริกันที่เชื่อว่าแฟน ๆ มอเตอร์สปอร์ตคงจะรู้จักและได้ติดตามผลงานของเขากันมาบ้าง เพราะ Brad เริ่มเข้าสู่วงการนักแข่งมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2004 อีกทั้งยังสร้างสถิติเป็นนักแข่งคนที่ 2 ในจำนวนทั้งหมด 4 คน ที่สามารถคว้าแชมป์ทั้งถ้วย Series Cup และ Xfinity Series ได้ในคราวเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นนักแข่งคนที่ 25 ที่สามารถเอาชนะการแข่งขันทั้ง 3 ซีรีย์ของ NASCAR ไปได้อีกด้วย

ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันฤดูกาล 2019 นี้ Brad Keselowski ต้องเจอกับอาการป่วย แต่เขาก็สามารถฟื้นร่างกายเพื่อกลับมาลงแข่งซีซั่นแรกของ NASCAR CUP 2019 และคว้าถ้วยไปครองได้ในที่สุด     
               

Brad Keselowski  ซิ่ง Ford New Mustang คว้าแชมป์ NASCAR CUP 2019

                การแข่งขันซีซั่นแรกของ NASCAR CUP 2019 ที่ผ่านมา Brad Keselowski ที่ฟื้นจากอาการป่วยได้ลงแข่งขันโดยใช้รถสปอร์ตรุ่นใหม่ล่าสุดจาก Ford Mustang ลงแข่งที่สนาม Atlanta ซึ่งถือเป็นรางวัลจากการฝึกซ้อมอย่างหนัก ทำให้ Brad คว้าแชมป์ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันและสามารถคว้าถ้วยชนะเลิศในรายการซีรีย์เป็นครั้งที่ 28 และถือเป็นนักแข่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีม Penske  

                ในการแข่งขันครั้งนี้ Brad Keselowski ขึ้นเป็นผู้นำได้ถึง 293 รอบ จากทั้งหมด 325 รอบ และเมื่อเขาสามารถแซงเพื่อนร่วมทีมอย่าง Joey Logano ที่มีลุ้นในถ้วยใบนี้เช่นเดียวกันไปได้จึงทำให้ Brad Keselowski เริ่มเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องในรอบต่อ ๆ มา จนเข้าเส้นชัยและคว้าถ้วยไปได้ในที่สุด

                นอกจาก Brad Keselowski แล้ว Erik Jones, Polesitter Aric Almirola, Chris Buescher และ Daniel Suarez ยังเป็นนักแข่งที่ติดอันดับผู้ที่สามารถทำคะแนนได้สูงสุดสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ ส่วน Kyle Larson ผู้ที่เอาชนะในนัดเปิดการแข่งขันและผู้ที่สามารถขึ้นเป็นผู้นำได้ถึง 142 รอบ ทำได้เพียงแค่อันดับที่ 12 สำหรับซีซั่นนี้เท่านั้นเนื่องจากต้องเจอกับปัญหารถตกหลุมในการแข่งขัน Stage ที่ 2 อีกทั้งยังมีนักแข่งอีกหลายคนที่หลุดจากตำแหน่งผู้นำเนื่องจากเจอปัญหาคล้าย ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น Ryan Blaney และ Jimmie Johnson อดีตแชมป์ 7 สมัย ที่ขับ Chevrolet เข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 24 ในการแข่งขันครั้งนี้

                ส่วนผู้ที่เข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 2 รองจาก Brad Keselowski คือ Martin Trux Jr. จากทีม Joe Gibbs Racing กับรถสปอร์ตจาก Toyota ส่วนอันดับ 3 คือ Kurt Busch จากทีม Chip Ganassi Racing กับรถสปอร์ตจาก Chevrolet ส่วนในซีซั่นต่อไปของ NASCAR CUP 2019 ก็ต้องติดตามกันว่านักแข่งคนใดที่จะสามารถคว้าถ้วยไปครองได้

Lewis Halmilton แชมป์ F1 อายุน้อยที่สุดในโลก

เมื่อพูดถึงชื่อของนักแข่งรถสูตร 1 ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้จะเป็นใครไปไม่ได้ ก็คงต้องเป็นแชมป์ F1 คนล่าสุดที่สามารถคว้าถ้วยรางวัลให้กับทีม Mercedes ไปได้ วันนี้เราจึงจะพาไปคุณรู้จักกับ Lewis Halmilton นักแข่งรถชาวอังกฤษที่ได้ชื่อว่าเป็นแชมป์ F1 ที่อายุน้อยที่สุดในโลก

ทำความรู้จักกับ Lewis Halmilton      

                Lewis Halmilton เป็นนักแข่งรถชาวอังกฤษ ปัจจุบันอายุ 33 ปีที่ทำสถิติคว้าแชมป์โลกในการแข่งขันรถสูตร 1 ให้กับทีม Mercedes AMP Petrrnas ได้ถึง 5 ครั้งจนเขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักแข่งที่ดีที่สุดและอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์วงการการแข่งรถ

จุดเริ่มต้นการเป็นนักแข่ง

Lewis Halmilton เกิดและโตที่เมือง Stevenage, Hertfordshire ใกล้กับกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ โดยเขาได้เริ่มสนใจเรื่องการแข่งรถตั้งแต่ตอนที่พ่อเขาซื้อรถแข่งบังคับวิทยุให้ตอนอายุ 6 ขวบ ต่อด้วยการเริ่มขับรถโกคาร์ทและเริ่มเข้าสู่วงการการแข่งรถโดยการสนับสนุนของบิดา Halmilton ได้เริ่มเข้าแข่งขันโกคาร์ทตั้งแต่ปี 1993 คือตอนที่เขามีอายุแค่เพียง 8 ขวบและได้แชมป์อันดับ 1 หลังจากนั้น 2 ปีต่อมาเขาก็ได้เข้าไปเสนอตัวเองกับทีม McLaren โดยเขาเชื่อว่าวันหนึ่งเขาจะได้มีโอกาสเข้าร่วมทีมและขับรถของ McLaren คว้าแชมป์ได้ เมื่อเขาอายุได้ 12 ปี  ทักษะการขับขี่ของเขาก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ และสามารถคว้าแชมป์ในรายการ Junior Yamaha ไปได้ในฤดูกาล 1997 และ 1998 จน McLaren เห็นความสามารถและได้เรียก Halmilton เข้าไปร่วมทีมและได้เซ็นต์สัญญาเป็นนักแข่งของ McLaren จนต่อมาก็ได้ไต่เต้าขึ้นเป็นนักแข่ง Formala 1 ของทีม McLaren ในที่สุด

เส้นทางสู่ความสำเร็จ

                ปี 2007 เป็นปีแรกที่ Halmilton ลงเป็นนักแข่งให้กับ McLaren ในสนามแข่งฟอร์มูล่าวัน โดยเขาสามารถเอาชนะได้ในสนาม Canadian Grand Prix ซึ่งถือเป็นชัยชนะครั้งแรกของเขาในการแข่งขัน Formula 1 จนต่อมาในปี 2008 เขาก็ได้พัฒนาความสามารถที่ต้องทำให้คนทั้งโลกได้ทึ่งเนื่องจากเขาได้ทำสถิติคว้าแชมป์ฟอร์มูล่าวันที่มีอายุน้อยที่สุดในโลกมาครองในฐานะนักแข่งของทีม McLaren จนกระทั่งปี 2013 Halmilton ได้ย้ายมาเข้าร่วมทีมกับ Mercedes และสามารถคว้าแชมป์ให้กับทีม Mercedes ได้ อีกทั้งสามารถรักษาอันดับแชมป์ไว้ได้ในปี 2014 และปี 2015 และสามารถกลับมาคว้าตำแหน่งอันดับ 1 ของโลกได้ในปี 2017 และปี 2018 ซึ่งเป็นปีล่าสุด ถือเป็นนักแข่งที่มีอายุน้อยที่สุดที่สามารถคว้าแชมป์ให้กับทีม Mercedes ได้ถึง 5 ครั้ง จนได้รับการจารึกว่าเป็นนักแข่งรถที่ดีที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การแข่งขัน Formula 1

สำหรับฤดูกาลปี 2019 ที่กำลังจะมาถึง  Halmilton ก็จะยังคงเป็นนักแข่งให้กับทีม Mercedes และได้มีการต่อสัญญาไปจนถึงปี 2020 ซึ่งเขาเชื่อว่าจะสามารถคว้าแชมป์และรักษาตำแหน่งแชมป์โลกเอาไว้ได้อีกครั้ง

รวมเหตุการณ์ยอดเยี่ยมและยอดแย่จากสนามแข่ง F1 ปี 2018

ปิดฉากกันไปแล้วกับการแข่งขัน Formula 1 ฤดูกาล 2018 ที่มีทั้งความตื่นเต้นและสามารถรักษาเอกลักษณ์และมาตรฐานการเป็นทัวร์นาเมนท์การแข่งขันรถทัวร์นาเมนท์สูงสุดระดับโลกเอาไว้ได้เป็นอย่างดี โดยในปีนี้ Lewis Hamilton จาก Mercedes สามารถคว้าแชมป์ F1 ไปได้ วันนี้เราจึงได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งยอดเยี่ยมและยอดแย่มาฝากกัน

นักแข่งที่ดีที่สุด

                จากผลงานของ Hamilton ที่ Monza ที่เขาสามารถสร้างความกดดันให้กับ Kimi Raikkonen และ Sebastian Vettel ในตักแรกจาก 3 ตาราง ที่เมื่อ Vettel ได้ทิ้งช่องว่างไว้ที่เลนด้านซ้าย ทำให้ Hamilton สามารถแทรกเข้าไปในเลนที่ว่างเพื่อหาโอกาสการแซงได้ หลังจากนั้น Hamilton ก็ไล่บี้ Raikkonen อย่างหนักก่อนจะต้องพัก เนื่องจากยางรถทำงานหนักเกินไป แต่ก็สามารถกลับมาลงสนามได้อย่างรวดเร็วและสามารถแซง Raikkonen ได้ในที่สุด

รายการแข่งขันที่ดีที่สุด

                Italian Gran Pix ถือเป็นรายการแข่งขันที่ดีที่สุดของปี 2018 เนื่องจากให้ความรู้สึกของบรรยากาศการแข่งขันในอดีตกลับมาอีกครั้ง

รถแข่งที่ดีที่สุด

Mercedes และ Ferrari ถือว่ายังคงสูสีทั้งในด้านของตัวรถและเครื่องยนต์ แต่จากการคว้าแชมป์ของ Mercedes ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า Mercedes สามารถทำความเร็วได้ดีกว่า Ferrari 0.124 วินาที ในขณะที่ Ferrari ก็ยังคงโต้แย้งว่ายังไง Ferrari ก็เป็นรถที่ทำความเร็วได้ดีกว่า Mercedes อยู่แล้ว หรือว่าผลงานในครั้งนี้ต้องยกให้เป็นความสำเร็จและความดีความชอบของนักแข่งอย่าง Hamilton เพราะฤดูกาลนี้ถือเป็นฤดูกาลที่ดีที่สุดของเขาเลยก็ว่าได้

การตัดสินใจที่ดีที่สุด

                การตัดสินใจที่ดีที่สุดจากทัวร์นาเมนท์นี้ก็คือการที่ Ferrari เลือก Charles Leclerc สำหรับการแข่งขันในปี 2019 เพราะเขาสามารถโชว์ฟอร์มได้ดีมาก ถึงแม้ว่าในช่วงแรกอาจโชว์ฟอร์มได้แบบสั่นคลอนเล็กน้อย แต่พอจบฤดูกาลผลงานของเขาก็ถือว่าทำได้ดีเป็นนักแข่งที่มีข้อบกพร่องน้อยมาก และเชื่อว่าการแข่งขันกับ Vettle ในปีหน้าคงจะต้องมันส์และได้ลุ้นกับแบบหืดขึ้นคออย่างแน่นอน

ความผิดพลาดที่แย่ที่สุด

ความผิดพลาดที่แย่ที่สุดสำหรับฤดูกาล 2018 ก็คือการที่ Sebastian Vettle โดยแซงจากการนำในการแข่งขัน German Grand Prix ซึ่งเป็นบ้านเกิดของตัวเอง ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ทำให้อดีตแชมป์โลก 4 สมัยเสียหน้ามากที่สุด และเป็นความผิดพลาดที่นำไปสู่ชัยชนะของ Hamilton ที่ทั้ง Vettle และทีม Ferrari ไม่สามารถกู้หน้าและคว้าถ้วยกลับมาครองได้

การตัดสินใจที่ผิดพลาดที่สุด

การตัดสินใจที่ผิดพลาดที่สุดก็คือการที่ทีม Ferrari ส่งรถออกผิดอันดับในการแข่งขัน Italian Grand Prix ทั้ง ๆ ทำให้ Vettle ที่น่าจะเป็นผู้นำและเอาชนะไปในสนามนี้ได้ แต่กลับต้องเสียตำแหน่งให้ Hamilton  และพลาดโอกาสการได้แชมป์ไปในที่สุด

สำหรับฤดูกาลหน้าก็คงต้องติดตามกันว่า Ferrari จะกลับมาทวงบัลลังก์แชมป์สนาม F1 ได้หรือไม่